ในภาษาเกาหลี ได้มีการกำหนดระบบใน
การถอดภาษาเกาหลีด้วยอักษรโรมัน ไว้ โดยเป็นที่นิยมมาก 2 ระบบ คือ
ระบบกระทรวงวัฒนธรรมเกาหลี 2000 ระบบที่ใช้อย่างเป็นทางการในประเทศเกาหลีใต้ปัจจุบัน และ ระบบ
แมกคูน-ไรซ์ชาวเออร์ ใช้ในประเทศเกาหลีเหนืออย่างเป็นทางการในปัจจุบัน และเคยใช้ในเกาหลีใต้อย่างเป็นทางการในช่วง
พ.ศ. 2527-
2543
ข้อมูลการเทียบเสียงต่อไปนี้เป็นเพียงการเทียบเสียงเบื้องต้น
ซึ่งอาจจะไม่ถูกต้องมากนัก พยัญชนะทุกตัวในภาษาเกาหลีมีเสียงแตกต่างกัน
แต่พบว่าบางครั้งการได้ยินของคนไทยไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างได้เหมือนคนเกาหลี
เช่น คำว่า 자 กับ 차 เป็นต้น
พยัญชนะ
พยัญชนะที่กำกับดอกจันไว้หมายถึงพยัญชนะเสียงหนัก
สำหรับ ㅇ เมื่อเป็นพยัญชนะต้นแต่มีคำอื่นมาก่อน จะนำพยัญชนะสะกดของคำก่อนหน้ามาเป็นเสียงพยัญชนะต้น ดูที่
การอ่านโยงเสียง
ตัวอย่างคำศัพท์
หน่วยเสียง |
ตัวอย่าง |
ทับศัพท์ |
คำแปล |
ㅂ /p/ |
발 [pal] |
bal |
เท้า |
ㅃ /p͈/ |
빨다 [p͈alda] |
ppalda |
ซักผ้า |
ㅍ /pʰ/ |
팔 [pʰal] |
pal |
แขน |
ㅁ /m/ |
말 [mal] |
mal |
ม้า |
ㄷ /t/ |
달 [tal] |
dal |
พระจันทร์ |
ㄸ /t͈/ |
딸 [t͈al] |
ttal |
ลูกสาว |
ㅌ /tʰ/ |
타다 [tʰada] |
tada |
ขี่ |
ㄴ /n/ |
날 [nal] |
nal |
วัน |
ㅈ /t͡ɕ/ |
잘 [t͡ɕal] |
jal |
บ่อน้ำ |
ㅉ /t͡ɕ͈/ |
짜다 [t͡ɕ͈ada] |
jjada |
คั้น |
ㅊ /t͡ɕʰ/ |
차다 [t͡ɕʰada] |
chada |
เตะ |
ㄱ /k/ |
가다 [kada] |
gada |
ไป |
ㄲ /k͈/ |
깔다 [k͈alda] |
kkalda |
กระจาย |
ㅋ /kʰ/ |
칼 [kʰal] |
kal |
มีด |
ㅇ /ŋ/ |
방 [paŋ] |
bang |
ห้อง |
ㅅ /s/ |
살 [sal] |
sal |
เนื้อหนัง |
ㅆ /s͈/ |
쌀 [s͈al] |
ssal |
ข้าวสาร |
ㄹ /l/ |
바람 [paɾam] |
baram |
ลม |
ㅎ /h/ |
하다 [hada] |
hada |
ทำ |
สระ
|
ฐาน |
+อี |
ฐาน |
ㅏ /a/ a อา |
ㅓ /ʌ/ eo ออ (ปากเหยียด) |
ㅗ /o/ o โอ |
ㅜ /u/ u อู |
ㅡ /ɯ/ eu อือ |
ㅣ /i/ i อี |
ㅐ /ɛ/ ae แอ |
ㅔ /e/ e เอ |
ㅚ /ø/ oe เออ |
ㅟ /y/ ui อวี |
ㅢ /ɰi/ eui งึย (อึย) |
ย+ |
ㅑ /ja/ ya ยา |
ㅕ /jʌ/ yeo ยอ (ปากเหยียด) |
ㅛ /jo/ yo โย |
ㅠ /ju/ yu ยู |
|
|
ㅒ /jɛ/ yae แย |
ㅖ /je/ ye เย |
|
|
|
ว+ |
ㅘ /wa/ wa วา |
ㅝ /wʌ/ weo วอ (ปากเหยียด) |
|
|
|
|
ㅙ /wɛ/ wae แว |
ㅞ /we/ we เว |
|
|
|
- /ʌ/ eo ออกเสียง "ออ" ปากเหยียด บางตำราก็ใช้ /ə/ "เออ"
- /ø/ oe ออกเสียง "เอ" ปากห่อ
สระเกาหลีไม่เหมือนภาษาไทยซึ่งมีเสียงสั้นเสียงยาวแยกกัน เช่น สระอิ หรือ สระอี จะรวมเป็นสระเดียว คือ
/i/
แต่จะเป็นเสียงสั้นหรือเสียงยาวนั้นขึ้นอยู่กับการเน้นเสียง
แม้คำที่เขียนเหมือนกันแต่อ่านด้วยเสียงที่ต่างกัน
ความหมายก็อาจเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง ดังตัวอย่างต่อไปนี้
สระเสียงสั้น |
สระเสียงยาว |
/i/ อิ |
시장 (sijang [ɕiˈʥaŋ], ความหิว) |
/iː/ อี |
시장 (sijang [ˈɕiːʥaŋ], ตลาด) |
/e/ เอะ |
베개 (begae [peˈɡɛ], หมอน) |
/eː/ เอ |
베다 (beda [ˈpeːda], ตัด) |
/ɛ/ แอะ |
태양 (taeyang [tʰɛˈjaŋ], พระอาทิตย์) |
/ɛː/ แอ |
태도 (taedo, [ˈtʰɛːdo], ความคิดเห็น) |
/a/ อะ |
말 (mal [ˈmal], ม้า) |
/aː/ อา |
말 (mal [ˈmaːl], คำ, ภาษา) |
/o/ โอะ |
보리 (bori [poˈɾi], ข้าวบาร์เล่ย์) |
/oː/ โอ |
보수 (bosu [ˈpoːsu], เงินเดือน) |
/u/ อุ |
구리 (guri [kuˈɾi], ทองแดง) |
/uː/ อู |
수박 (subak [ˈsuːbak], แตงโม) |
/ʌ/ เอาะ |
벌 (beol [ˈpʌl], การลงโทษ) |
/əː/ เออ |
벌 (beol [ˈpəːl], ผึ้ง) |
/ɯ/ อึ |
어른 (eoreun [ˈəːɾɯn], ผู้อาวุโส) |
/ɯː/ อือ |
음식 (eumsik [ˈɯːmɕik], อาหาร) |
^ ชาวเกาหลีส่วนใหญ่ออกเสียง
/ʌː/ "ออ" (เสียงยาว) เป็น
/əː/ "เออ"
ตัวสะกด
แม้พยัญชนะเกาหลีจะมีหลายตัว
และแต่ละตัวเสียงแตกต่างกัน แต่เมื่อนำมาใช้เป็นตัวสะกดแล้ว จะมีทั้งหมด 7
แม่เท่านั้น ดังตาราง จะเห็นว่าคล้ายคลึงกับภาษาไทย โดยที่ต่างออกไปคือ
เสียง "ล" เมื่อนำไปเป็นตัวสะกดแล้วจะไม่ใช่เสียง "น"
นอกจากนี้อาจพบตัวสะกดแบบที่มีพยัญชนะสะกดสองตัว เช่น 여덟, 앉다 ฯลฯ
ตัวสะกดลักษณะนี้จะเลือกออกเสียงเฉพาะตัวใดตัวหนึ่งเท่านั้น
และอีกตัวจะไม่ออกเสียง เช่น 여덟 อ่านว่า /ยอ-ดอล/ ไม่ใช่ /ยอ-ดอบ/
การที่จะทราบว่าตัวสะกดคู่จะออกเสียงพยัญชนะตัวใด แสดงดังตาราง
อย่างไรก็ตามมีตัวสะกดคู่บางส่วนที่ออกเสียงไม่แน่นอนขึ้นกับคำ คือ ㄺ และ ㄼ
ตัวสะกด |
พยัญชนะ |
ตัวอย่าง |
กง |
ㅇ |
성 = /ซอง/ |
กน |
ㄴ ㄵ ㄶ |
원 = /วอน/ |
กม |
ㅁ ㄻ |
남 = /นัม/ |
กก |
ㄱ ㄲ ㅋ ㄳ |
밖 = /ผัก/ |
กด |
ㄷ ㅅ ㅆ ㅈ ㅉ ㅊ ㅌ ㅎ |
이것 = /อี-กอด/ |
กบ |
ㅂ ㅍ ㅄ ㄿ |
십 = /ฉิบ/, 없 = /ออบ/ |
กล |
ㄹ ㄽ ㄾ ㅀ |
팔 = /พัล/ |
ไม่แน่นอน |
ㄺ ㄼ |
여덟 = /ยอ-ดอล/ |
การอ่านโยงเสียง
ในพยางค์หนึ่งๆ กรณีที่พยัญชนะต้นเป็นตัวอีอึง (ㅇ) เสียงของมันอาจไม่ใช่เสียง "อ" แต่จะเป็นเสียงของตัวสะกดในพยางค์ก่อนหน้าแทน เช่น
- 직업 อ่านว่า /지겁/ (ชี-กอบ) ไม่ใช่ /직-업/ (ชิก-ออบ)
- 당신은 อ่านว่า /당시는/ (ทัง-ชี-นึน) ไม่ใช่ /당-신-은/ (ทัง-ชิน-อึน)
ถ้าไม่มีคำใดมาก่อนจะออกเสียงคล้าย อ หรือถ้าคำก่อนหน้าไม่มีพยัญชนะสะกด จะออกเสียงเชื่อมสระเข้าด้วยกัน
กฎการอ่านแบบกลมกลืนเสียง*
ในพยางค์ใดที่ลงท้ายด้วยตัวสะกดและพยัญชนะต้นในพยางค์ถัดไปที่ติดกัน
เสียงของตัวสะกดจะเปลี่ยน
เพื่อให้ออกเสียงได้สะดวกกลมกลืนและไม่ขัดกัน โดยจำแนกไว้เป็นกฎต่างๆดังต่อไปนี้
1. พยางค์ใดลงท้ายด้วยตัวสะกดในแม่ /ㄱ/, /ㄷ/, /ㅂ/
และพยัญชนะต้นในพยางค์ถัดไปเป็นเสียงนาสิก เสียงตัวสะกดจะเปลี่ยนเป็น
/ㅇ/,/ㄴ/,/ㅁ/ ตามลำดับ เพื่อให้ออกเสียงได้สะดวกกลมกลืนและไม่ขัดกัน
ตัวอย่างเช่น
집는다 -> /짐는다/ เขียนว่า "ชิบนึนดา" แต่จะอ่านเป็น "ชิมนึนดา" เพื่อให้ออกเสียงได้สะดวกกลมกลืนและไม่ขัดกัน
받는다 -> /반는다/ เขียนว่า "พัดนึนดา" แต่จะอ่านเป็น "พันนึนดา" เพื่อให้ออกเสียงได้สะดวกกลมกลืนและไม่ขัดกัน
속는다 -> /송는다/ เขียนว่า "ซกนึนดา" แต่จะอ่านเป็น "ซงนึนดา" เพื่อให้ออกเสียงได้สะดวกกลมกลืนและไม่ขัดกัน
ที่คุ้นเคยกันดีได้แก่ ไวยากรณ์ลงท้ายประโยคอย่างสุภาพ "~습니다" ถึงแม้ว่าจะเขียนเป็น
ซึ่บนิดา แต่เพื่อให้เป็นไปตามเหตุผลดังที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว เราก็จะอ่านว่า
ซึมนิดา
ตัวอย่างประโยคหรือวลีที่มักพบ
ประโยคเกาหลี |
คำอ่านไทย |
คำแปล |
안녕하세요. |
อัน-นยอง-ฮา-เซ-โย |
สวัสดี |
감사합니다./고맙습니다. |
คัม-ซา-ฮัม-นิ-ดะ / โค-มับ-ซึม-นิ-ดะ |
ขอบคุณ |
사랑해. |
ซา-รัง-แฮ |
รัก |
실례지만. |
ชิล-รเย-จี-มัน |
ขอประทานโทษครับ |
안녕히 주무세요. |
อัน-นยอง-ฮี๊ จู-มู-เซ-โย |
ราตรีสวัสดิ์ |
만나서 반가워요. |
มัน-นา-ซอ-พัน-กา-วอ-โย |
ยินดีที่ได้รู้จัก |
죄송합니다. 저 먼저 갑니다 |
ชเว-ซง-ฮัม-นี-ดา. ชอ-มอน-จอ-กัม-นี-ดา. |
ขอโทษครับ ผมไปก่อนนะครับ |
ไวยากรณ์
การวางคำในประโยคภาษาเกาหลีมีลักษณะใกล้เคียงกับการเรียงใน
ภาษาญี่ปุ่นและ
ภาษาตุรกีรวมไปถึงภาษาในประเทศอินเดีย
โดยเรียงลำดับคำในประโยคเป็น "ประธาน-กรรม-กริยา"
ซึ่งแตกต่างกับประโยคในภาษาไทยที่เป็น "ประธาน-กริยา-กรรม" เช่นประโยค
"ฉันกินข้าว" ในภาษาไทย จะเขียนลำดับเป็น "ฉันข้าวกิน" [나는 밥을 먹는다.]
ในภาษาเกาหลี
ภาษาเกาหลีมี
คำช่วยเพื่อบอกหน้าที่ของคำต่างๆ
ในประโยค เช่น เป็นคำช่วยที่ใช้วางหลังสถานที่เพื่อระบุตำแหน่ง และ 가 หรือ
를 เป็นคำช่วยที่วางหลังคำเพื่อระบุว่าคำนั้นเป็นประธานของประโยค เป็นต้น
นอกจากนี้ภาษาเกาหลียังมีการผันรูปกริยาหลายรูปแบบเพื่อเปลี่ยนแปลงกาลเทศะ
เช่น ระดับความสุภาพและความเป็นทางการของประโยค
สภาพกาลของประโยคว่าเป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น